
วันพุธ ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2563, 14.04 น.
“ทีมชวน” วอน “ไอลอว์” ควรเข้าใจ เรื่อง กม. ไม่ควรซิกแซก
นางสาวศิริภา อินทวิเชียร ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาผู้เเทนราษฎร เปิดเผยถึงการเข้ายื่นเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนของกลุ่ม iLaw หรือโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน ต่อ นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เมื่อวานนี้ (22 กันยายน) ว่า กระบวนการในการส่งมอบนั้นเป็นไปไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับภาคประชาชนในการรวมชื่อเพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขบทบัญญัติทางกฎหมายตามช่องทางที่ได้ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ 2560
แต่กระบวนการในการตรวจสอบเอกสารอาจต้องใช้เวลาเพื่อความถูกต้องครบถ้วน เหมาะสมในการยื่นเสนอเข้าไปเป็นญัตติเพื่อให้ฝ่ายนิติบัญญัติกระทำการพิจารณาอย่างลึกซึ้ง
ดังนั้น ความต้องการของกลุ่ม iLaw และคณะ ที่ต้องการให้บรรจุร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับนี้เข้าไปร่วมญัตติในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับของพรรคร่วมรัฐบาล 1 ฉบับ และพรรคร่วมฝ่ายค้าน 5 ฉบับ ในวันที่ 23-24 กันยายนนี้ หรือภายในระยะเวลากว่า 10 ชั่วโมง (นับจากช่วงเวลาที่ยื่นร่าง) จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ไม่ง่ายนัก
เพราะหลักสำหรับกระบวนการทำงานของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งทำหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรองกฎหมายอันสำคัญมากมายนั้น จำเป็นต้องตั้งอยู่ในกรอบของระบบที่โปร่งใส เป็นระเบียบ และละเอียดถี่ถ้วน เพื่อให้ทุกกระบวนการของฝ่ายนิติบัญญัติเต็มไปด้วยความบริสุทธิ์ และมีประสิทธิภาพ ปราศจากข้อครหาใดๆ ในการจะทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการพิจารณากฎหมายต้องถูกบั่นทอน
ที่สำคัญ เชื่อว่า ด้วยความที่ประธานรัฐสภา ท่านชวน หลีกภัย เคยให้สัมภาษณ์เอาไว้เกี่ยวกับร่างแก้ไข รธน. ของกลุ่ม iLaw ว่า “ส่วนตัวอยากให้พิจารณาพร้อมกันคราวเดียวในวันที่ 23-24 กันยายนนี้ แต่ประเมินแล้วไม่สามารถทำได้ เพราะยื่นเรื่องมาล่าช้าเกินไป เนื่องจากสภาต้องมีกระบวนการตรวจสอบอย่างละเอียดเพื่อไม่ให้มีความผิดพลาด”
ดังนั้น ด้วยกลไกโดยปกติทั่วไปของสภาฯ แม้จะไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาในวันที่ 23-24 กันยายน แต่น่าจะได้รับการบรรจุญัตติเพื่อเข้าไปสู่การพิจารณาทันทีเท่าที่ระบบทำได้ และจะเป็นการพิจารณาจากสมาชิกรัฐสภาในมาตรฐานเดียวกันกับวันที่ 23-24 กันยายนอย่างแน่นอน
“โดยส่วนตัวมองว่า ท่านประธานรัฐสภาพยายามขับเคลื่อนกลไกนิติบัญญัติให้กลายเป็นทางออกหนึ่งของความขัดแย้งในบ้านเมือง ณ ตอนนี้ และการแก้ไข รธน. น่าจะเป็นจุดสร้างความละมุนละไมทางการเมืองต่อกันสำหรับทุกฝ่าย ซึ่งความตั้งใจตรงนี้เองที่จะเป็นคำยืนยันอย่างดีว่า ทุกๆ ข้อเสนอในการพาบ้านเมืองออกจากปัญหา ไม่ว่าจะเป็น การประชุมสองสภาตามมาตรา 165 หรือการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน นิสิต นักศึกษา เยาวชน และประชาชน หรือการอภิปรายโดยไม่ลงมติของฝ่ายค้าน รวมไปถึงการเปิดสภาพิจารณาร่างแก้ไข รธน. ทั้งหมดนี้ ประธานรัฐสภาก็ได้ใช้อำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติดำเนินการอย่างเหมาะสม ตามกระบวนการ และข้อบังคับที่ควรปฏิบัติมาโดยตลอด เพื่อพาทุกคนไปสู่ทางออกของปัญหา
และก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า สมาชิกรัฐสภาต่างก็ให้ความมั่นใจในการอำนวยความยุติธรรม และความสะดวก ในการปฏิบัติหน้าที่ทางนิติบัญญัติที่ผ่านมา ซึ่งท่านชวนเองก็ได้วางมาตรฐานอันเข้มข้นเอาไว้ ตรงนี้เองที่ทางกลุ่ม iLaw และคณะ ต้องทำความเข้าใจว่า ทิศทางในกระบวนการนิติบัญญัตินั้นไม่ควรที่จะหย่อนหยาน แม้จะเป็นไปเพื่อประโยชน์อันใด เพราะไม่เช่นนั้น กฎหมายที่ตรงไปตรงมาย่อมยากจะเกิดขึ้นได้ ในกระบวนการอันไม่สมบูรณ์ตามแบบที่ควรจะต้องเป็น”
"กระบวนการ" - Google News
September 23, 2020 at 02:04PM
https://ift.tt/33PL9ix
'ทีมชวน'วอน'ไอลอว์' ควรเข้าใจเรื่องกฎหมาย ไม่ควรซิกแซก! - หนังสือพิมพ์แนวหน้า
"กระบวนการ" - Google News
https://ift.tt/2Le1u7K
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/2WCZ5cb
Bagikan Berita Ini
0 Response to "'ทีมชวน'วอน'ไอลอว์' ควรเข้าใจเรื่องกฎหมาย ไม่ควรซิกแซก! - หนังสือพิมพ์แนวหน้า"
Post a Comment