
เมื่อวันที่ 23 ก.ย. ที่มหาวิทยาลัยรังสิต นายวิชา มหาคุณ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญา ที่อยู่ในความสนใจของประชาชน กล่าวปาฐกถาในงานเสวนาเรื่อง "ถอดบทเรียนกระบวนการยุติธรรม กรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญา ที่อยู่ในความสนใจของประชาชน" จัดโดย ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ ม.รังสิต ว่า จากบทเรียนในการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีนายวรยุทธ หรือบอส อยู่วิทยา กรณีขับรถชนตำรวจเสียชีวิต ทำให้เราต้องมีการทบทวนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้น เพียงพอต่อการอำนวยความยุติธรรมในคดีอาญาแก่ประชาชนอย่างเสมอภาคหรือไม่ เพราะคดีนี้สะท้อนถึงปัญหาเหลื่อมล้ำในการอำนวยความยุติธรรมในกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยทั้งระบบอย่างชัดเจน
"ปัญหาใหญ่ที่เราพบจากบทเรียนนี้ คือ ปัญหาของคนที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่ ตำรวจ อัยการ รวมถึง ทนายความ ที่ขาดความสุจริต ไม่เข้มแข็ง ไม่ละอายเกรงกลัวต่อบาป อำนวยความยุติธรรมล่าช้า ปล่อยปละให้เกิดการทุจริตในกระบวนการยุติธรรม มีขบวนการแทรกแซงการสอบสวนทำสำนวนคดี จนเกิดความไม่ยุติธรรม" นายวิชา กล่าว
นายวิชา กล่าวอีกว่า คดีดังกล่าวยังชี้ให้เห็นถึงขบวนการทุจริตในกระบวนการยุติธรรม 3 ประเด็น เริ่มจากการทุจริต หวาดกลัวการเผชิญหน้ากับความจริง ซึ่งคือ ตัวนายวรยุทธเองที่ไม่กล้าเผชิญหน้ากับสิ่งที่ตนเองได้กระทำลงไป โดยตั้งโจทย์ว่า ให้คดีจบที่อัยการ ไม่ต้องขึ้นศาล และนำไปสู่การทุจริตคิดว่าความยุติธรรมซื้อได้ ซื้อทั้งเวลาและเกิดขบวนการแทรกแซงคดี จนเกิดการสั่งไม่ฟ้องคดี จากความพยายามทั้งหมด 14 ครั้ง และการทุจริตเกิดจากจุดที่อ่อนแอที่สุด ก็คือ กระบวนพิสูจน์ข้อเท็จจริงในกระบวนการยุติธรรม ที่ให้น้ำหนักกับพยานบุคคลมากกว่าการพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ ในเรื่องนี้ถือว่า เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องมีการปฏิรูปแก้ไขอย่างเร่งด่วน
นายวิชา กล่าวยังกล่าวถึงความคืบหน้าในพิจาณาการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ว่า ขณะนี้คณะกรรมการได้พิจารณาในเรื่องการแก้ไขพระราชบัญญัติตำรวจเสร็จแล้ว โดยมีมติสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติตำรวจของชุดนายมีชัย ฤชุพันธุ์ โดยในสัปดาห์หน้าจะมีการพิจารณาทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.การสอบสวนคดีอาญา และนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาพิจารณาว่าจะต้องมีการยกร่างปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่อย่างไร
ด้าน ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า แม้สภาทนายความ จะมีกฎระเบียบกำกับดูแลจริยธรรม และมรรยาททนายความที่มีอยู่ประมาณ 75,000 คน ในทั่วประเทศ แต่ยังมีทนายความถูกร้องเรียนว่ามีพฤติกรรม พฤติการณ์ กระทำผิดมรรยาทแทบทุกเดือน จึงอยากให้ทนายความทุกคนประพฤติยึดหลักคุณธรรม มรรยาททนายความอย่างเคร่งครัด ไม่สร้างพยานหลักฐานเท็จ เพราะไม่เพียงอาจจะต้องถูกถอนใบอนุญาตทนายความ ยังอาจจะต้องถูกดำเนินคดีอาญาอีกด้วย.
"กระบวนการ" - Google News
September 23, 2020 at 04:42PM
https://ift.tt/3kHAI7z
ชี้คดี'บอส'สะท้อนปัญหา ความเหลื่อมล้ำกระบวนการยธ. - เดลีนีวส์
"กระบวนการ" - Google News
https://ift.tt/2Le1u7K
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/2WCZ5cb
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ชี้คดี'บอส'สะท้อนปัญหา ความเหลื่อมล้ำกระบวนการยธ. - เดลีนีวส์"
Post a Comment