Search

เช็กสิทธิ์ "เงินเยียวยากลุ่มเปราะบาง" - ฐานเศรษฐกิจ

frita.prelol.com

เปิดรายละเอียด"เงินเยียวยากลุ่มเปราะบาง" 3,000 บาท ใครบ้างได้รับสิทธิ์

ภายหลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 เห็นชอบมาตรการ "เยียวยากลุ่มเปราะบาง" ที่ทางกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้นำเสนอเพื่อยื่นขอรับการช่วยเหลือ 3 กลุ่มได้แก่ เด็กแรกเกิด,ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  

วันนี้มาดูรายละเอียดของกลุ่มเปราะบางทั้ง 3 กลุ่มกันอีกครั้งว่าใครจะเข้าเงื่อนไข ได้รับเงินเท่าไร หรือหากใครที่ยังไม่เคยลงทะเบียนจะต้องทำอย่างไร 


สำหรับกลุ่มเปราะบาง 3 กลุ่มที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีฐานข้อมูลอยู่ในมือ มีจำนวน 13 ล้านคน ประกอบไปด้วย 
 

1.กลุ่มเด็กแรกเกิด - 6 ปี เดิมทีกลุ่มนี้่จะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลในโครงการ "เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด"เดือนละ 600 บาทอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามยังมีผู้ปกครองบางคนที่ไม่ได้ลงทะเบียนขอรับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด (โครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่ตุลาคม 2558 ) สามารถติดต่อขอลงทะเบียนได้ที่ อบต.,เทศบาล,สำนักงานเขต

ส่วนการขอรับ "เงินเยียวยากลุ่มเปราะบาง"ของกลุ่มนี้ คาดว่าจะเริ่มจ่ายในเดือนมิถุนายน และจ่ายรวม 2 เดือน (พฤษภาคม และมิถุนายน) เป็นเงิน 2,000 บาท และเมื่อรวมกับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดอีก 600 บาท เท่ากับว่าในเดือนมิถุนายนจะได้รับเงิน 2,600 บาท หลังจากนั้นในเดือนกรกฏาคมจะได้รับเงินเยียวยากลุ่มเปราะบางที่เหลืออีก 1,000 บาท และเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดอีก 600 บาท เป็น 1,600 บาท 
ในเบื้องต้นผู้ที่ลงทะเบียนขอรับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดอยู่แล้ว ไม่ต้องลงทะเบียนเพิ่มเพราะทางทางกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีฐานข้อมูลอยู่แล้ว ดังนั้นคาดว่าเงินจะเข้าบัญชีเดียวกัน 

2.กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ตามปกติในกลุ่มนี้จะได้รับเบี้ยช่วยเหลือเป็นขั้นบันได ตั้งแต่ 600 บาท -1,000 บาทต่อเดือน ดังนั้นเมื่อรัฐฯช่วยเหลือ "เงินเยียวยากลุ่มเปราะบาง"ก็จะได้เพิ่มเดือนละ 1,000 บาทเป็นเวลา 3 เดือน โดยการจ่ายจะรวม 2 เดือนเช่นเดียวกัน (พฤษภาคม และมิถุนายน) เป็นเงิน 2,000 บาทและบวกเบี้ยช่วยเหลือต่อเดือนของแต่ละคนเข้าไปอีก และในเดือนกรกฎาคม จะได้รับอีก 1,000 บาท  โดยโอนเข้าบัญชีผู้สูงอายุที่เคยได้รับเบี้ยตามปกติอยู่แล้ว 


หากผู้สูงอายุที่ยังไม่เคยลงทะเบียนก็สามารถติดต่อสอบถามไปที่ อบต.,เทศบาลที่อยู่ปัจจุบัน

3.กลุ่มคนพิการ มีเบี้ยเงินพิการที่ได้รับอยู่แล้ว 800 บาทต่อเดือน และจะจ่ายจะรวม 2 เดือนเช่นเดียวกัน (พฤษภาคม และมิถุนายน) เป็นเงิน 2,000 บาทและบวกรวมกับเบี้ยที่ได้ต่อเดือน และในเดือนกรกฎาคม จะได้รับอีก 1,000 บาท โอนเข้าบัญชีของผู้พิการที่เคยได้รับเบี้ยรายเดือนอยู่แล้ว ผู้พิการท่านใดที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนรับเบี้ยคนพิการ ให้ติดต่อสอบถามที่อบต./เทศบาล


อย่างไรก็ตามกลุ่มคนพิการ (ที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ)จะได้รับเงินอีก 1,000 บาท จากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในวันที่ 29 พ.ค. นี้ 
 

ทั้งหมดถือเป็นกลุ่มเปราะบาง 3 กลุ่มที่เตรียมรับเงินเยียวยาที่ครม.เพิ่งจะเคาะเมื่อวันที่ 26 พ.ค. ที่ผ่านมา  ส่วนกรณีที่เกิดคำถามว่าทำไมเงินเยียวยากลุ่มเปราะบางถึงไม่ได้ 5,000 บาทเหมือน"เราไม่ทิ้งกัน" , "เงินเยียวยาเกษตรกร" ก็เนื่องมาจากกลุ่มนี้ได้รับเงินสวัสดิการจากรัฐฯทุกเดือนอยู่แล้ว ดังนั้นการได้ 3,000 บาทนี้เข้ามาถือว่าเพิ่มเติมจากที่เคยได้รับมา 


ส่วนกรณีที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน ไม่ว่าจะเป็นเด็กแรกเกิด ,ผู้สูงอายุ และกลุ่มคนพิการ ขอให้ทุกคนที่เข้าข่ายไปลงทะเบียนที่สำนักงานเขต ,อบต,เทศบาลก่อน ซึ่งรัฐบาลโดยกระทรวงการคลังและทางกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กำลังพูดคุยกันถึงรายละเอียดว่าจะช่วยเหลือกลุ่มนี้รวมไปถึงกลุ่มที่ตกหล่นอีกว่าจะต้องทำอย่างไร 


รวมไปถึงกรณีที่ผู้ขอรับสิทธิอาจจะเป็นทั้งผู้พิการและสูงอายุ หรือบางกลุ่มอาจจะได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาทจาก"เราไม่ทิ้งกัน"หรือ "เงินเยียวยาเกษตรกร"ไปแล้วจะยังได้รับสิทธินี้หรือไม่ มีความซ้ำซ้อนหรือไม่ ตรงนี้ทางรัฐฯกำลังมีการพิจารณากันอย่างรอบคอบและจะขอประกาศอีกครั้งในเร็วๆนี้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

"เยียวยากลุ่มเปราะบาง" 13 ล้านคน เช็กเลย กลุ่มไหนเข้าเกณฑ์ได้ "รับเงินเยียวยา" บ้าง

เกาะติด "เยียวยากลุ่มเปราะบาง" เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ รับเงิน 3,000บาท


Let's block ads! (Why?)



"ได้รับ" - Google News
May 28, 2020 at 12:36PM
https://ift.tt/2XCmdYS

เช็กสิทธิ์ "เงินเยียวยากลุ่มเปราะบาง" - ฐานเศรษฐกิจ
"ได้รับ" - Google News
https://ift.tt/3ef9hjd
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/2WCZ5cb

Bagikan Berita Ini

0 Response to "เช็กสิทธิ์ "เงินเยียวยากลุ่มเปราะบาง" - ฐานเศรษฐกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.