เป็นที่ทราบกันดีว่า เงินบาทแข็งค่ามาอย่างต่อเนื่องมาหลายปีแล้วและทวีความรุนแรงขึ้นอย่างมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
จะดูจากการแข็งค่าของเงินบาทกับเงินเหรียญสหรัฐก็ได้หรือดูจาก NEER (การคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทกับเงินสกุลหลักต่างๆ ถ่วงน้ำหนักด้วยการค้าที่เกิดขึ้นจริงกับประเทศดังกล่าว) ก็ได้ หากดูจากดัชนี NEER ก็จะเห็นว่าเงินบาทแข็งค่าประมาณ 18% จาก 106.04 ในเดือน ธ.ค. 2015 มาถึงจุดสูงสุดที่ 125.14 ในเดือนม.ค.2020 ดังปรากฏในตารางข้างล่าง สำหรับเงินบาทเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐนั้นก็จะแข็งค่าขึ้นจาก 36.07 บาทต่อ 1 ดอลลาร์มาเป็น 31.13 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ในช่วงเดียวกัน กล่าวคือแข็งค่าขึ้น 15.87%
ผมรวบรวมตัวเลขให้ดูย้อนหลังไปนานกว่า 5 ปีเพื่อให้เห็นว่าการแข็งค่าของเงินบาทนั้นเป็นปัญหาระยะยาวที่ยังแก้ไม่ตกและกำลังจะเป็นแรงต้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยหลังการระบาดของ COVID-19 ในไทยจบลงไปแล้ว เพราะแม้ว่าประเทศไทยจะยังปิดประเทศไม่ให้คนต่างชาติเข้ามาและรายได้จากการท่องเที่ยวเท่ากับศูนย์ เงินบาทก็กลับแข็งค่าขึ้นมาอีกแล้วหลังจากที่อ่อนตัวลงในเวลาสั้นๆ เพียง 3 เดือนระหว่างม.ค.- มี.ค.และเริ่มกลับมาแข็งค่าอีกตั้งแต่ต้นเม.ย. 2020 เป็นต้นมา โดยภายใน 3 เดือนที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่าประมาณ 5% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐและประมาร 1.5% หากวัดจากดัชนี NEER
ปกติประเทศไทยต้อนรับนักท่องเที่ยวไตรมาสละ 4 ล้านคน แต่ไตรมาส 2 และไตรมาส 3 น่าจะไม่มีรายได้จากตรงนี้เลย เทียบกับปกติที่รายได้จากนักท่องเที่ยวจะเท่ากับประมาณ 12-15% ของจีดีพีหรือ 6-7.5% ใน 2 ไตรมาส ดังนั้นจึงจะต้องถามว่าทำไมเงินบาทจึงแข็งค่าขึ้นมาได้ ซึ่งปัจจุบันธปท.แสดงท่าทีว่าเป็นเพราะมีการเก็งกำไรค่าเงินบาท แต่หากดูจากข้อมูลในอดีต 5 ปีที่ผ่านมาจะเห็นว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาโดยตลอด
อีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้เห็นว่าการแข็งค่าของเงินบาทเป็นปัญหาเรื้อรังคือการที่ทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจากประมาณ 157,000 ล้านเหรียญสหรัฐมาเป็น 239,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยไม่มีความจำเป็นจะต้องเพิ่มทุนสำรองอีกกว่า 80,000 ล้านเหรียญ เพราะปัจจุบันหากมีทุนสำรอง 120,000-130,000 ล้านเหรียญก็เพียงพออยู่แล้วและแม้ว่าปัจจุบันการส่งออกลดลงและไทยไม่มีรายได้จากการท่องเที่ยวเลย แต่ประเทศไทยในปีนี้ (ถึงเดือนเม.ย.) ดุลชำระเงินของประเทศก็ยังบวกเกือบ 400,000 ล้านบาท และยังเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 270,000 ล้านบาท เพราะกำลังซื้อภายในประเทศทรุดตัวลงหนักมากกว่าการส่งออกที่หดตัวลง เห็นได้จาก
2.การส่งออกเป็นรายเดือนของไทยเป็นรายเดือนมีแนวโน้มทรงตัว+เพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปี 2020 และลดลงในเดือนเม.ย.คือ
มกราคม 598.59 พันล้านบาท
กุมภาพันธ์ 635.74 พันล้านบาท
มีนาคม 670.97 พันล้านบาท
เมษายน 583.01 พันล้านบาท
2.การนำเข้าทรุดตัวลงเร็วกว่าการส่งออกคือ
มกราคม 586.92 พันล้านบาท
กุมภาพันธ์ 466.71 พันล้านบาท
มีนาคม 598.05 พันล้านบาท
เมษายน 500.43 พันล้านบาท
จะเห็นได้ว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ประเทศไทยจะเกินดุลการค้ามาโดยตลอด ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเพราะนอกจากจะหมายความว่ากำลังซื้อภายในจะอ่อนแออย่างมากแล้ว การหดตัวของการนำเข้านั้นมักจะหมายถึงการหดตัวของการลงทุนด้วยเพราะประเทศไทยจะนำเข้าเครื่องจักรเพื่อการลงทุนจากต่างประเทศ
ประเด็นสุดท้ายคือการที่ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นกว่า 80,000 ล้านเหรียญในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานั้นแปลได้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยพยายาม “ดูแล” ค่าเงินบาทโดยการเข้าไปซื้อเงินดอลลาร์ในตลาดมาเก็บเอาไว้เป็นทุนสำรองที่เพิ่มขึ้น โดยการพิมพ์เงินบาทออกมาเพื่อเพิ่มปริมาณเงินบาทในระบบซึ่งคาดหวังว่าทำให้เงินบาทอ่อนค่า (เพราะมีปริมาณเงินบาทในระบบเพิ่มขึ้น) แต่ก็เห็นได้ว่าการ “ดูแล” ค่าเงินบาทดังกล่าวไม่เป็นผลสำเร็จ เพราะเงินบาทก็แข็งค่าขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอีกด้านหนึ่งของเหรียญเดียวกันคือการที่ธปท.ไม่สามารถบริหารนโยบายการเงินให้ได้ตามเป้าเงินเฟ้อที่ตั้งเอาไว้ เห็นได้จากตารางข้างล่างที่เงินเฟ้อของไทยต่ำกว่าเงินเฟ้อของสหรัฐอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผมได้เคยกล่าวมาก่อนหน้าแล้วว่าเงินเฟ้อคือการอ่อนค่าของเงินภายในประเทศและประเทศที่เงินเฟ้อต่ำย่อมต้องรับสภาพว่าเงินของตนก็จะต้องแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ ที่อัตราเงินเฟ้อภายในประเทศสูง
ยิ่งในช่วงหลังนี้เงินเฟ้อของไทยติดลบติดต่อกันอย่างมากในเดือนมี.ค. เม.ย.และพ.ค. ยิ่งไม่น่าแปลกใจว่าทำไมเงินบาทจึงต้องแข็งค่าขึ้นครับ
"ได้รับ" - Google News
June 22, 2020 at 04:22AM
https://ift.tt/2UZTfSf
การแข็งค่าของเงินบาท: ปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข | เศรษฐศาสตร์ + สุขภาพ - กรุงเทพธุรกิจ
"ได้รับ" - Google News
https://ift.tt/3ef9hjd
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/2WCZ5cb
Bagikan Berita Ini
0 Response to "การแข็งค่าของเงินบาท: ปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข | เศรษฐศาสตร์ + สุขภาพ - กรุงเทพธุรกิจ"
Post a Comment