แมตต์ แมคแกรธ
ผู้สื่อข่าวสิ่งแวดล้อมบีบีซี
งานวิจัยชิ้นใหม่ชี้ว่า วงการกีฬาทั่วโลกจะต้องเผชิญอุปสรรคร้ายแรงจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในช่วงหลายทศวรรษที่จะมาถึง
ภายในปี 2050 คาดว่าเกือบหนึ่งในสี่ของสนามฟุตบอลของสโมสรในอังกฤษจะต้องถูกน้ำท่วมทุกปี
นักวิจัยบอกว่ากีฬาเทนนิส รักบี้ กรีฑา และกีฬาฤดูหนาว ก็ต้องพบอุปสรรคร้ายแรงเช่นกันจากอุณหภูมิที่สูงมากขึ้น
งานวิจัยบอกอีกว่า ผู้บริหารชั้นนำของวงการกีฬาเหล่านี้ล้มเหลวที่จะจัดการกับปัญหานี้อย่างจริงจัง
ขณะที่วิกฤตโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถจัดการแข่งขันกีฬาได้ เหมือนกับกิจกรรมทางสังคมอื่น ๆ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่า วิกฤตครั้งนี้เป็นแค่การ "ซักซ้อม" เท่านั้นสำหรับผลกระทบระยะยาวที่วงการกีฬาต้องเผชิญเมื่ออุณหภูมิโลกร้อนเกินไป
ปรากฏการณ์ทางสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง ซึ่งเกี่ยวกับอุณหภูมิที่สูงขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อการจัดการแข่งขันกีฬาระดับโลกมาหลายหนแล้วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
พายุไต้ฝุ่นในญี่ปุ่นเมื่อปีที่แล้วส่งผลกระทบต่อตารางการแข่งขันรักบี้ชิงแชมป์โลก (Rugby Union World) มาแล้ว และเหตุไฟไหม้ป่าก็ทำให้ช่วงเริ่มต้นของการแข่งขันเทนนิสรายการออสเตรเลียน เทนนิส โอเพ่น (Australian Tennis Open) ต้องติดขัด
เดวิด โกลด์แบลตต์ เจ้าของงานวิจัย บอกว่า เหล่านี้และอีกหลายเหตุการณ์เป็นการ "ชิมลาง" สิ่งที่เราต้องเผชิญในอนาคต
ขณะที่ลีกฟุตบอลประเทศต่าง ๆ เริ่มกลับมาแข่งขันแล้ว งานวิจัยของโกลด์แบลตต์ชี้ว่า ภายในปี 2050 สนามกีฬาของสโมสรฟุตบอลในอังกฤษ 23 แห่ง จากทั้งหมด 92 สโมสร จะต้องเผชิญปัญหาน้ำท่วมเล็กน้อยจนถึงหนักมากทุกปี
ขณะนี้ สนามของทีมเซาธ์แฮมป์ตัน นอริช เชลซี และเวสต์แฮม ก็กำลังเผชิญความเสี่ยงทำนองนี้แล้ว
คริกเก็ตก็ได้รับผลกระทบทั่วโลกเมื่อในที่ต่าง ๆ อย่างอินเดีย ออสเตรเลีย และหมู่เกาะเวสอินดีส มีอุณหภูมิสูงขึ้น
ในช่วงทศวรรษหน้า สนามแข่งขันที่แอดิเลดและเพิร์ธ จะมีวันที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียสเพิ่มมากขึ้นอีก 60%
หนึ่งในสามของสนามแข่งขันกอล์ฟรายการบริติชโอเพน จะได้รับความเสียหายจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น
กีฬาฤดูหนาวก็ต้องเผชิญความไม่แน่นอนด้วย โดยนักวิจัยบอกว่า จากสถานที่ 19 แห่งที่เคยจัดการแข่งขันมาแล้ว ถึงปี 2050 จะเหลือเพียง 10 แห่งที่จัดการแข่งขันได้อยู่
แต่นอกจากจะดูว่าวงการกีฬาจะได้รับผลกระทบอย่างไร งานวิจัยยังศึกษาด้วยว่า การแข่งขันกีฬามีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากแค่ไหน
นักวิจัยบอกว่า ช่วงที่มีการแข่งขันกีฬาน้อย มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เทียบเท่ากับประเทศโบลิเวีย ส่วนตอนที่มีการแข่งขันมาก มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เทียบเท่ากับสเปน
นี่เป็นการประเมินขั้นต่ำ เนื่องจากยังไม่รวมเรื่องอุตสหกรรมเสื้อผ้ากีฬาและการถ่ายทอดกีฬา ซึ่งประเมินได้ยากว่ามีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแค่ไหน
โกลด์แบลตต์ เจ้าของงานวิจัย บอกว่า ไม่ว่าจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากแค่ไหน ความสำคัญทางวัฒนธรรมของวงการกีฬาสามารถเป็นเวทีและกระบอกเสียงช่วยให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้
ในขณะที่องค์กรด้านการกีฬาอย่างคณะกรรมการโอลิมปิกสากลและสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ(FIFA) ได้ลงนามในข้อตกลงกับสหประชาชาติแล้วว่าภายในปี 2050 จะทำให้การแข่งขันกีฬามีความเป็น "carbon neutral" หรือมีการลงทุนเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนมาชดเชยกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่องค์กรนั้น ๆ ได้ปล่อยไป
อย่างไรก็ดี ก็ยังมีอีกหลายองค์กรกีฬาที่ยังไม่ลงนามเข้าร่วม
งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นจากการสนับสนุนของกลุ่มพันธมิตรเพื่อการเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็ว (Rapid Transition Alliance) กลุ่มนักวิชาการและนักเคลื่อนไหวนานาชาติที่เรียกร้องให้รับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรวดเร็วขึ้น
"ก้าวแรกคือการหยุดรับเงินสนับสนุนจากบริษัทที่ผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิลและผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมวิถีชีวิตที่ต้องการอาศัยเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างมาก" แอนดรูว์ ซิมม์ จากกลุ่มพันธมิตรเพื่อการเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็ว กล่าว
"หากนักกีฬาหากันออกมาแสดงความเห็นว่า อากาศที่สะอาดและสภาพภูมิอากาศที่เสถียรเป็นเรื่องสำคัญ จะมีคนอีกหลายล้านคนที่เห็นความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเปลี่ยนแปลง นี่จะไม่แค่ส่งสารแห่งความหวังไปยังทั่วโลก แต่จะช่วยรักษาโลกนี้ไว้เพื่อการกีฬาด้วย"
"ได้รับ" - Google News
June 20, 2020 at 02:00PM
https://ift.tt/382Xlyn
ภาวะโลกร้อน : วงการกีฬาทั่วโลกจะได้รับผลกระทบอย่างไรจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ - บีบีซีไทย
"ได้รับ" - Google News
https://ift.tt/3ef9hjd
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/2WCZ5cb
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ภาวะโลกร้อน : วงการกีฬาทั่วโลกจะได้รับผลกระทบอย่างไรจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ - บีบีซีไทย"
Post a Comment