คอลัมน์เศรษฐเสวนา จุฬาฯทัศนะ โดย ผศ.ดร.ธัชนันท์ โกมลไพศาล, รศ.ดร.กรรณิการ์ ดำรงค์พลาสิทธิ์ คณะเศรษฐศาสตร์ และศูนย์เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3,600 หน้า 5 วันที่ 13 - 15 สิงหาคม 2563
สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ ทราบกันดีอยู่แล้วนะคะว่าทุกวันที่ 12 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันแม่แห่งชาติ วันนี้จะเป็นวันที่กระตุ้นให้เรา ทุกคนได้ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของบุคคลที่เลี้ยงดูเรา มาตั้งแต่เกิด บุคคลดังกล่าวของคนส่วนใหญ่ก็คือคุณแม่นั่นเองค่ะ แต่ทุกท่านเคยคิดสงสัยไหมคะว่า แล้วเด็กในครอบครัวที่ไม่มีคุณแม่ล่ะ เค้าจะนึกถึงใครดีในวันแม่นี้
จากคำถามดังกล่าวก่อให้เกิดเป็นประเด็นงานวิจัยของอาจารย์ทั้ง 2 คนค่ะ งานวิจัยที่จะนำมาเล่าให้ฟังในวันนี้ เกิดจากคำถามที่ว่า ในปัจจุบัน ครอบครัวรูปแบบเดิมๆ ที่เราเคยพบเจอ คือ มีพ่อ แม่ ลูกครบหน้า (บางทีก็มี คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยายแถมมาด้วย) ไม่ได้มีเยอะแบบแต่ก่อนแล้ว ถ้ามองไปรอบตัวเราจะเห็นได้ว่า เราเจอครอบครัวที่มีคุณแม่ที่เลี้ยงลูกคนเดียว หรือครอบครัวที่มีคุณพ่อเลี้ยงลูกคนเดียว หรือแม้กระทั่งครอบครัวที่มีแค่คุณปู่คุณย่า หรือคุณตาคุณยายเลี้ยงหลานเองโดยพ่อแม่ของเด็กไปทำงานที่อื่น ทำหน้าที่เพียงส่งสตางค์กลับมาให้เท่านั้นเต็มไปหมดนะคะ
สถานการณ์ที่ว่า เห็นได้ชัดทั้งในกรุงเทพฯ และในต่างจังหวัดค่ะ เพราะด้วยเหตุผล 3 ประการหลักค่ะ คือ
1. อัตราการหย่าร้างที่สูงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกปี (และอาจสูงขึ้นหลัง Lockdown ด้วยค่ะ)
2. การมีลูกทั้งที่ยังไม่พร้อมของวัยรุ่นไทยจำนวนมากมักทำให้เกิดครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวเพราะการมีลูกตอนที่ยังไม่พร้อมมักจบลงที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทิ้งลูกไว้ให้อีกฝ่าย
และ 3. คือการที่ความเจริญทางเศรษฐกิจของประเทศ ไทยยังกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่เขตเมืองเป็นส่วนใหญ่ทำให้พ่อแม่จำนวนหนึ่งต้องหางานทำในเขตเมืองและส่งลูกกลับไปให้พ่อแม่ของตนช่วยเลี้ยงให้ในต่างจังหวัดที่ค่าครองชีพถูกกว่าค่ะ
และเราก็ทราบกันดีนะคะ ว่าการเลี้ยงดูเด็กเล็กๆ นี่ เป็นงานที่เหนื่อยเอาการอยู่ พวกเราจึงตั้งคำถามวิจัยขึ้นมาว่า เด็กเล็กๆ ในครอบครัวที่ไม่ได้มีพ่อแม่ครบหน้าจะได้รับการดูแลเลี้ยงดูที่เท่าเทียมกับเด็กในครอบครัวครบถ้วนไหม และ ถ้าไม่ เราควรช่วยเหลือครอบครัวแบบใหม่ๆ เหล่านี้อย่างไรดี
วิธีการศึกษาของพวกเราเป็นการศึกษาทั้งจากข้อมูลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และการลงพื้นที่สัมภาษณ์ครอบครัวที่มีเด็กเล็ก คุณครู หน่วยงานสาธารณสุข และผู้นำชุมชน เพื่อศึกษาประเด็นที่สนใจโดยใช้ทั้งระเบียบวิธีทางสถิติและจากการพูดคุยค่ะ
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติที่เราใช้ในการศึกษานี้มีชื่อว่า ข้อมูลการสำรวจสถาน การณ์เด็กและสตรีในประเทศ ไทย ในปี พ.ศ. 2555 และ 2558 โดยพวกเรามีหน้าที่แบ่งประเภทครัวเรือนที่เด็กเล็ก (อายุไม่เกิน 5 ขวบ) อาศัยอยู่ค่ะ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลของเราอาศัยคำตอบที่ผู้ดูแลหลักของเด็กให้ข้อมูลค่ะว่าผู้ดูแลหลักของเด็กมีความสัมพันธ์กับหัวหน้าครัวเรือนอย่างไร เป็นลูก เป็นภรรยาหรือสามี หรือเป็นพี่น้องกับหัวหน้าครัวเรือน และในครัวเรือนนั้นมีพ่อแม่ของหัวหน้าครัวเรือนอาศัยอยู่ด้วยหรือไม่ แล้วเราจึงทำการจำแนกเด็กทั้งหมดว่าเด็กมีทั้งพ่อและแม่อาศัยอยู่ด้วยหรือไม่ และมีปู่ย่าตายายอาศัยอยู่ด้วยหรือเปล่า
จากการจำแนกครอบครัวด้วยวิธีดังกล่าว เราสามารถแบ่งประเภทครอบครัวที่เด็กเล็กในประเทศไทยอาศัยอยู่ออกเป็นหลักๆ 8 ประเภทด้วยกันค่ะ คือ
1. ครัวเรือนครบถ้วน (มีทั้งพ่อและแม่อาศัยอยู่กับเด็ก) 2 รุ่น (คือมีแค่รุ่นพ่อแม่และรุ่นเด็ก) 2. ครัวเรือนครบถ้วน 3 รุ่น (คือมีรุ่นปู่ย่าตายาย รุ่นพ่อแม่ และรุ่นเด็ก) 3. ครัวเรือนแม่เลี้ยงเดี่ยว 2 รุ่น 4. ครัวเรือนแม่เลี้ยงเดี่ยว 3 รุ่น
5.ครัวเรือนพ่อเลี้ยงเดี่ยว 2 รุ่น 6. ครัวเรือนพ่อเลี้ยงเดี่ยว 3 รุ่น 7. ครัวเรือนที่ไม่มีพ่อแม่ (คือเด็กอาศัยอยู่กับญาติหรือคนอื่นๆ แต่ไม่มี ปู่ย่าตายาย) และ 8. ครัวเรือนข้ามรุ่น (คือมีแค่รุ่นเด็กและรุ่นปู่ย่าตายาย โดยทั้งพ่อและแม่ของเด็กไม่ได้อาศัยอยู่ในที่อยู่เดียวกัน) จะเห็นได้นะคะว่า ครอบครัวที่เราพูดถึงไม่จำเป็นต้องมีพ่อแม่ครบหน้าเสมอไปค่ะ
เด็กส่วนใหญ่ก็ยังคงมีพ่อแม่ครบถ้วนพร้อมหน้าในบ้านเดียวกันนะคะ (ประมาณร้อยละ 30) โดยส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของครอบครัวเดี่ยวคือไม่มีญาติผู้ใหญ่อาศัยอยู่ด้วย (2 รุ่น) แต่ถึงแม้เด็กจำนวนไม่น้อยจะอยู่อาศัยในครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว แต่ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวส่วน ใหญ่ก็ยังมีลักษณะของการเป็นครอบครัวขยายอยู่ คือ ยังคงมีคุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยายอาศัยอยู่ด้วยช่วยกันดูแลหลานค่ะ (คือเป็นแบบ 3 รุ่น) และก็มีเด็กจำนวนไม่น้อยเลย (ราวร้อยละ 15-20) ที่อาศัยอยู่กับปู่ย่าตายายโดยไม่มีทั้งพ่อและแม่อยู่ด้วยในบ้านค่ะ
คำถามต่อไปก็คือ แล้วเด็กในครอบครัวแต่ละแบบนี่ เค้าได้รับการดูแลอย่างไรบ้าง ถ้ามีแค่พ่อ หรือมีแค่แม่หรือไม่มีทั้งพ่อและแม่ เด็กจะได้รับการดูแลที่ด้อยกว่าเด็กที่มีพ่อแม่ ครบถ้วนไหม แล้วมีปัจจัยอะไรอีกบ้างที่ส่งผลต่อผลลัพธ์หลายๆ อย่างในเด็กเล็ก เดี๋ยวพวกเราจะเล่าให้ฟังต่อในบทความ อาทิตย์หน้านะคะ
ป.ล. ถ้าผู้ใดสนใจวิธีการแบ่งครอบครัวออกเป็นประเภทต่างๆ โดยละเอียด สามารถติด ต่อมาที่พวกอาจารย์ได้นะคะ งานลักษณะนี้ไม่เคยมีการศึกษาในประเทศไทยมาก่อนค่ะ
"ได้รับ" - Google News
August 12, 2020 at 09:15AM
https://ift.tt/3aepmnC
โครงสร้างครัวเรือน กับการได้รับนมแม่ และพัฒนาการเด็ก (1) - ฐานเศรษฐกิจ
"ได้รับ" - Google News
https://ift.tt/3ef9hjd
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/2WCZ5cb
Bagikan Berita Ini
0 Response to "โครงสร้างครัวเรือน กับการได้รับนมแม่ และพัฒนาการเด็ก (1) - ฐานเศรษฐกิจ"
Post a Comment